เวทีสัมมนาวิชาการ “สานพลัง ตั้งรับ และปรับตัวกับภัยคุกคาม
ระบบอาหารท้องถิ่นภาคเหนือ” ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อเร็ว เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานทุกระดับตามยุทธศาสตร์ 3 ปีที่ผ่านมา
และกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานต่อเนื่องในปี 2557-2560
ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้นโยบายด้านอาหารและสถานการณ์ที่เป็นภัยคุกคามต่อ
ความมั่นคงด้านอาหารจากภาคีความร่วมมือที่ทำงานด้านนโยบายประเทศ
เพื่อเพิ่มเติมมุมมองที่กว้างขึ้นของนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ชุมชนสามารถตั้งรับและปรับตัวอันจะนำไปสู่การรักษาฐานอาหารให้รุ่น
ลูกหลานต่อไป
รศ.ดร.จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ รองผู้อำนวยการ สกว.
ด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และผู้อำนวยการฝ่ายเกษตร กล่าวว่า
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร ได้แก่
โรคสัตว์และโรคพืชซึ่งส่งผลกระทบได้อย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังมีพลังงาน น้ำ
เศรษฐกิจ โครงสร้างประชากรซึ่งมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
และการสูญเสียทางทรัพยากร ปัจจุบันทั่วโลกมีประชากรที่ขาดอาหารมากกว่า
1,000 พันล้านคน
โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกาและบางประเทศที่ทรัพยากรไม่เอื้ออำนวยและยากจนทำให้
เกิดความอดอยาก รวมถึงปัญหาผลผลิตไม่ดี
และขาดการลงทุนในภาคการเกษตรซึ่งต้องมีการใช้เทคโนโลยี ทรัพยากร
และที่ดินจำนวนมาก
ดังนั้น
การดำเนินการเพื่อความมั่นคงด้านอาหารและคุณค่าทางอาหารจึงจำเป็นต้องมีการ
ลงทุนในภาคเกษตรของผู้ประกอบการรายใหญ่
ซึ่งต้องพยายามสนับสนุนนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตผลทางการเกษตร รวมถึงระบบ
ซึ่ง OECD และ FAO
วางเป้าหมายว่าในอนาคตอันใกล้นี้อาหารและพลังงานจะเข้าใกล้กันมากขึ้น
ส่วนในระยะยาวมองว่าจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตลอดจนมีการใช้ดิน น้ำ
ทรัพยากรชายฝั่ง ระบบนิเวศ พืชพันธุ์อย่างยั่งยืน
อีกทั้งต้องมีการจัดการพืชผลทางการเกษตรที่ดีขึ้น
ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมากขึ้น
และเพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยเพื่อจัดการโครงสร้างและส่งเสริมสนับสุนนการ
ผลิตให้มากขึ้น
ลดการสูญเสียโดยอาศัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและระบบการขนส่งที่จะต้อง
อาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น
ในส่วนของ สกว. มีการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อความมั่นคงอาหาร
การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่
ซึ่งในส่วนของงานวิจัยมีทั้งด้านความมั่นคงอาหาร
ด้านอาหารปลอดภัยซึ่งดำเนินการร่วมกับ อย.
ในการวิเคราะห์ปัญหาเกษตรกรและปัจจัยหรือเงื่อนไขที่มีผลต่อการผลิตอาหาร
ปลอดภัยเพื่อออกแบบการสนับสนุนที่เหมาะสมต่อไป
ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการเพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ตลอดจนโครงการฟุตพริ้นน้ำของพืชอาหาร อาหารสัตว์
และพลังงานเพื่อจัดการทรัพยากรน้ำอย่างปลอดภัย ซึ่งมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
คือ การลดปริมารการใช้น้ำของพืช
การพัฒนาระบบชลประทานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อความตึงเครียดด้านน้ำใน
อนาคต ส่งเสริมให้เกิดการขยายพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในกระบวนการแปรรูปวัตถุดิบและกระบวนการผลิตเอทานอ
ล ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านฉลาก WF
ของผลิตภัณฑ์เกษตรเพื่อสร้างความตระหนักด้านน้ำในภาคการบริโภค
ส่วนแนวทางในอนาคตคือการเติบโตอย่างยั่งยืน
ทั้งการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ คนและสังคมมีความเข้มแข็ง
และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังเร่งดำเนินการเรื่อง GAP
ให้เป็นมาตรฐานบังคับเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค
โครงการส่งเสริมการตลาดไก่ประดู่หางดำของเกษตรกรรายย่อยจังหวัดเชียงราย เพื่อสร้างอาชีพและรายได้อย่างยั่งยืน เป็นโครงการที่สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ดำเนินการในพื้นที่บ้านห้วยห้าง ตำบลป่าซาง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย..เพื่อให้ไก่พื้นเมืองไทยแท้ ประดู่หางดำเชียงใหม่๑ คงอยู่เป็นของคนไทยกับชุมชนท้องถิ่นไทยอย่างยั่งยืน ติดต่อศึกษาดูงานหรือชื้อลูกไก่ประดูหางดำไปทำพันธุ์ และมีไก่สดแช่แข็งจำหน่าย โทร 08-0130-8420 หรือ 08-9838-1597
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น