สภาพทั่วๆไปของฟาร์มป้าทับ ใช้หลังบ้านเต็มพื้นที่ ภาพนี้เป็นที่กกลูกไก่ที่ป้าทับให้แม่ไก่กกลูกช่วงแรกเกิดถึง ๗ วัน มีผ้าบังลมในช่วงอากาศหนาวกลางคืน
มีตาข่ายล้อมเป็นรุ่นๆ เล้าของพ่อแม่พันธุ์ มีลานให้เดินออกกำลัง และขุ้ยเขี่ยตามธรรมชาติของไก่
มีเพื่อนบ้านมาเยี่ยมชมความสำเร็จ
แหล่งเรียนรู้ที่ ๔ ที่แนะนำต่อคือนางอัมพร พลเยี่ยม เรียกกันตามหมู่บ้านว่าป้าอัมพร เลี้ยงไก่ได้ดีพอๆกับป้าทับ มีไก่พื้นเมืองที่มีอยู่เดิมและเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเสริม ทำให้กิจการดีขึ้นเพราะไก่ประดู่หางดำให้ลูกดีกว่าไก่ที่เลี้ยงอยู่ โตเร็ว และด้วยการเสริมความรู้จากการอบรมของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ มีรายได้จากการขายไก่ปีละเกือบ ๒ หมื่นบาท ตอนนี้ไก้พื้นเมืองจะเหลือแต่แม่พันธุ์เอาไว้กกไข่ส่วนพ่อเป็นพ่อประดู่หางดำทั้งหมด ท่านใดสนใจอยากติดต่อขอชื้อไก่ประดู่หางดำพันธุ์แท้ได้ โทร ๐๘๙-๐๗๘๓๕๐๓
กรงฟักลูกไก่ของป้าอัมพร ทำเป็นสองส่วนทึบเพื่อกันลม และโล่งด้วยตาข่ายสีฟ้าให้ลูกไก่หลบร้อนหนาวตามสภาวะอากาศ
นายสุพล ปานพาน มอบทะเบียนกลุ่มเลี้ยงสัตว์ของกรมปศุสัตว์ ให้นายติ๊บ บั้งเงิน ประธานกลุ่ม
ภาพการอบรมประชุมกลุ่มเลี้ยงไก่ประดู่หางดำ ที่มีประจำทุกเดือนเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ
ภาพการมาดูงานของเกษตรกรพื้นที่สูงของมูลนิธิศุภนิมิตร
ภาพการมาดูงานของเกษตรกรพื้นที่สูงของมูลนิธิศุภนิมิตร
นางสมศรี จันทะรินทร์ บรรยายเล่าการจัดการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำ ก่อนเดินชมแหล่งเรียนรู้ของกลุ่ม
ชมการเลี้ยงไก่ของนายชัยเพชร ภูชัยเจริญ
นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้งแนะนำแหล่งเรียนรู้ และเล่าความเป็นมาของกลุ่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น