สนใจจะชื้อไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่๑ไปเลี้ยงขยายพันธุ์ติดต่อกลุ่มเลี้ยงไก่บ้านห้วยห้างโทร๐๘๙-๐๗๘๓๕๐๓,๐๘๙-๘๓๕๖๒๖๒,๐๘๖-๑๑๓๐๗๕๕

วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เพิ่มความรู้การใช้ตู้ฟักไข่

เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๖ นายสะอาด ชาวเวียง นักวิชาการสัตวบาล ประจำสถานีวิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์พะเยา และทีมงาน เดินทางมาเยี่ยมกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านห้วยห้าง เพื่อให้คำแนะนำการฟักไข่ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่๑ เพราะกลุ่มมีปัญหาการฟักด้วยตู้ มีลูกตายจำนวนมากเปอร์เซนต์การฟักไม่ถึง ๕๐ % วันนี้จึงได้บรรยายวิธีการเก็บไข่เข้าตู้ฟักและสาธิตการส่องไข่ ที่แนะนำคือการวางไข่ต้องเอาด้านป้านขึ้นเพราะมีช่องอากาศให้ลูกไก่ได้หายใจ  ต้องส่องไข่และเก็บข้อมูลการฟักตลอดจะได้วิเคราะห์ปัญหาได้อีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะพ่อแม่พันธุ์ ตู้ฟัก การเก็บไข่ การจัดการอาหาร เป็นต้น


ลูกไก่ประดู่หางดำพันธุ์แท้ จากตู้ฟักบ้านลุงติ๊บ บั้งเงิน อายุ ๕ วัน ราคา ๓๐ บาท

ลูกไก่ประดู่หางดำพันธุ์แท้ จากตู้ฟักบ้านลุงติ๊บ บั้งเงิน อายุ ๑๐ วัน ราคา ๓๕ บาท
ลูกไก่ประดู่หางดำพันธุ์แท้ จากตู้ฟักบ้านลุงติ๊บ บั้งเงิน อายุ ๒๐-๓๐ วัน ราคา ๕๐ บาท
สรุปข้อมูลการฟักไข่ด้วยตู้ฟัก
 มนุษย์รู้จักกระบวนการฟักไข่มานานแล้ว ตั้งแต่นำสัตว์มาเลี้ยงแทนการล่าสัตว์ การฟักไข่แบบธรรมชาตินั้นจะได้ผลผลิตน้อย จึงมีผู้คิดค้นตู้ฟักไข่ ซึ่งถือเป็นวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ผลผลิตของสัตว์เพียงพอต่อความต้องการ ประโยชน์ที่ได้รับจากการฟักไข่ คือ สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตสัตว์ปีกได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผู้เลี้ยงยังสามารถใช้ตู้ฟักไข่ศึกษาถึงสายพันธุ์ และปรับปรุงพันธ์สัตว์ปีกที่เหมาะสมได้
 
ฟักไข่ด้วยตู้ฟักอย่างไรให้ได้ผลดี
 การฟักไข่จะได้ผลดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อันประกอบด้วย

 1.ความสมบูรณ์ของพันธุ์ หมายถึง ความสมบูรณ์ของไข่ที่นำมาฟัก นั่นหมายถึง ผู้ประกอบการจะต้องใส่ใจในช่วงผสมพันธ์ไก่ เพื่อให้ไข่ที่ได้มีความสมบูรณ์พอเพียง ดังนี้
 1.1. ระยะเวลาที่นำตัวผู้เข้าผสม และการเก็บไข่
 - ถ้าเป็นการผสมเทียม ผู้ประกอบการจะต้องเก็บไข่หลังฉีดเชื้อแล้ว 3 วัน - ถ้าเป็นการผสมแบบธรรมชาติ เก็บไข่เมื่อนำพ่อพันธ์เข้าผสมพันธุ์แล้ว 7 วัน
  1.2 ฤดูกาลที่ผสมพันธุ์ ช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว ประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม ถือว่าเหมาะสมที่สุด 
  1.3 อาหารที่ใช้เลี้ยง อาหารควรมีโภชนาการที่เหมาะสม และเพียงพอต่อความต้องการของพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ 
   1.4 การให้ฮอร์โมนเสริมบางตัวแก่แม่พันธุ์ไก่ จะทำให้แม่ไก่ผลิตไข่ที่มีคุณภาพของเชื้อดีขึ้น 
   1.5 ปริมาณไข่ของแม่พันธุ์ โดยแม่พันธุ์ที่ให้ไข่มาก มักให้ไข่ที่สมบูรณ์ดี 
   1.6 การเลือกคู่ผสมพันธุ์ แม่พันธ์ไก่บางตัวจะไม่ยอมให้พ่อพันธุ์บางตัวผสมพันธุ์ด้วย ผู้เลี้ยงจึงต้องสับเปลี่ยนพ่อพันธุ์ไก่ตัวใหม่ให้ 
   1.7 การผสมแบบเลือดชิด ถ้าผสมไปนานๆ จะทำให้น้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ด้อยคุณภาพลง 
   1.8 วิธีการผสมพันธุ์ การผสมแบบธรรมชาติจะให้ผลดีกว่าการผสมเทียม 
   1.9 อายุของพ่อแม่พันธุ์แม่พันธุ์ไก่ ควรมีอายุ 6 -18 เดือน จึงจะให้ไข่ที่มีคุณภาพ ส่วนพ่อพันธุ์ควรมีอายุระหว่าง 8-24 เดือน จะให้น้ำเชื้อที่มีคุณภาพดี 
   1.10 อัตราส่วนตัวพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ไก่ที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง 1 ต่อ 8-10 ตัว
 
2. อุณหภูมิหรือความร้อน ที่พอเหมาะและสม่ำเสมอ จะช่วยให้ไข่ได้รับการผสม และเจริญเติบโตเป็นตัวลูกไก่ที่แข็งแรง
    2.1 อุณหภูมิที่เหมาะสมในตู้ฟัก แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
    ระยะที่ 1 ช่วงระหว่างวันที่ 1-18 ของการฟัก อุณหภูมิเหมาะสมสำหรับตู้ฟักที่มีพัดลมระบายอากาศ อยู่ระหว่าง 99.50-99.75 องศาฟาเรนไฮต์(37.50-37,75  C)
    ระยะที่ 2 ช่วงระหว่างวันที่ 19-21 ของการฟัก ในระยะนี้ อุณหภูมิจะลดต่ำลงเล็กน้อย อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 97-99 องศาฟาเรนไฮต์(35-37 C) 
   2.2 ความร้อน มีความสัมพันธ์กับการฟักตัวของลูกไก่ ดังนี้ 
     1. เปอร์เซ็นต์การฟักตัวของลูกไก่ ถ้าอุณหภูมิการฟักถูกต้องและสม่ำเสมอ จะทำให้เปอร์เซ็นต์การฟักตัวของลูกไก่มีสูง แต่ถ้าอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป ก็จะทำให้เปอร์เซ็นต์การฟักตัวของลูกไก่ต่ำ 
     2. ระยะเวลาการฟักตัว โดยปกติ ไข่ไก่จะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 21 วัน ถ้าใช้อุณหภูมิสูงกว่าปกติ แต่ไม่ถึงกับเป็นอันตรายต่อเชื้อลูกไก่ ก็จะทำให้ลูกไก่ฟักตัวออกมาเร็วกว่าทั่วไป แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ลูกไก่จะฟักตัวช้า  
     3. ขนาดของลูกไก่ที่ฟักออกมา จะสัมพันธ์กับระยะเวลาการฟักตัวของลูกไก่ด้วย คือ ถ้าฟักออกช้า เพราะอุณหภูมิต่ำ ลูกไก่ก็จะมีขนาดตัวโต ถ้าฟักตัวออกมาเร็ว เพราะใช้อุณหภูมิสูง ลูกไก่จะมีขนาดตัวที่เล็ก แต่ไม่ว่าจะขนาดตัวเล็กหรือใหญ่ ลูกไก่จะมีสุขภาพที่ไม่ค่อยแข็งแรง  
     4. เปอร์เซ็นต์เชื้อลูกไก่ตาย ถ้าอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป จะส่งผลทำให้เปอร์เซ็นต์เชื้อตายสูง โดยเฉพาะช่วง 2-4 วันแรกของระยะฟักตัว  
     5. จำนวนไก่ที่มีความผิดปกติ ถ้าอุณหภูมิไม่สม่ำเสมอ จะทำให้ลูกไก่ที่ฟักออกมามีความผิดปกติของร่างกาย ถ้าอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป ก็จะเป็นสาเหตุให้ลูกไก่พิการหรืออ่อนแอได้ 
   3. ปริมาณความชื้น ที่พอเหมาะ จะช่วยให้เชื้อของลูกไก่เจริญเติบโตได้ตามปกติ และยังช่วยให้ขนของลูกไก่ไม่ติดกับเยื่อหุ้มเปลือกไข่ ในขณะที่ลูกไก่กำลังจะฟักตัวออกจากไข่ 
     ความชื้นที่เหมาะสมภายในตู้ฟัก แบ่งออกเป็น 2 ระยะ 
     ระยะที่ 1 ช่วงวันที่ 1-18 วันแรกของระยะฟักตัว จะใช้ความชื้นประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ 
     ระยะที่ 2 ช่วงวันที่ 19-21 ของระยะฟักตัว จะใช้ความชื้นประมาณ 70-75 เปอร์เซ็นต์ 
     ความชื้นภายในตู้ฟักจะได้จากการระเหยของน้ำในถาดน้ำที่อยู่ภายในตู้ฟัก หรืออาจได้จากการฉีดพ่นน้ำเป็นละอองเข้าไปในตู้ วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความชื้นในตู้ฟักได้เช่นเดียวกัน 
     ผลของความชื้นที่มีต่อตัวอ่อน มีดังนี้ 
1. ถ้าความชื้นในตู้ฟักมากเกินไป จะมีผลทำให้ 
- ลูกไก่ฟักตัวออกเร็วกว่าปกติ - ขนาดตัวของลูกไก่จะโต ท้องป่อง และตัวจะนิ่ม - สะดือไม่แห้ง และปิดไม่สนิท - ลูกไก่ไม่แข็งแรง 
2. ความชื้นในตู้ฟักไข่ต่ำเกินไป 
- ลูกไก่จะมีขนาดตัวเล็กและแห้ง - น้ำหนักตัวน้อย - บางตัวจะแห้งอยู่ภายในไข่ และขนจะติดกับเปลือกไข่ ไม่สามารถฟักออกมาได้ - ลูกไก่ที่ออกจากเปลือกไข่อาจจะไม่แข็งแรง และอาจพิการได้ 
    4. การระบายอากาศ ภายในไข่จะมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือเผาผลาญให้เป็นอาหารสำหรับตัวอ่อน ไข่ที่นำเข้าตู้ฟักในระยะแรก จะต้องการปริมาณก๊าซออกซิเจนน้อย เมื่อฟักไปนานๆ ไข่จะต้องการปริมาณก๊าซออกซิเจนมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ไข่จะคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากด้วย ดังนั้น หากตู้ฟักมีการระบายอากาศไม่ดี จะทำให้ตัวอ่อนขาดก๊าซออกซิเจน และตายในที่สุด โดยเฉพาะช่วงที่ลูกไก่โตเต็มที่ในระยะท้ายของการฟัก ลูกไก่จะต้องใช้ก๊าซออกซิเจนในการหายใจมากขึ้น ถ้าการระบายอากาศไม่ดี จะทำให้ลูกไก่ตาย ตู้ฟักทุกชนิดจึงมีช่องระบายอากาศ หรือมีระบบระบายอากาศ ตู้ฟักที่มีพัดลมจะช่วยให้การระบายอากาศดีขึ้น 
     5. การพลิกไข่ โดยธรรมชาติ ถ้าแม่ไก่ฟักไข่ของมันเองมันจะพลิกไข่โดยเฉลี่ยวันละ 96 ครั้ง การพลิกไข่จะช่วยให้เชื้อลูกไก่ไม่ติดเปลือกสามารถเคลื่อนไหวได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพลิกไข่คือมุมที่ใช้พลิกไข่ ใช้มุม 45 องศากับแนวดิ่ง และควรพลิกไข่วันละ 6-10 ครั้ง 
    6. ปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าปัจจัยเหล่านี้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงก็ตาม แต่ก็มีผลกระทบต่อการฟักตัวของลูกไก่ คือ 
     6.1 การแยกตู้ฟักและตู้เกิด สำหรับตู้ฟักที่แยกตู้เกิดออกจากกัน จะทำให้สามารถทำความสะอาดได้ง่าย และสามารถปรับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับไข่ในแต่ละช่วงเวลาได้ตามที่ต้องการ ซึ่งทำให้ไข่ที่ได้มีคุณภาพ และลูกไก่มีสุขภาพแข็งแรง  
     6.2 การส่องไข่ สามารถคัดเลือกไข่ที่ไม่มีเชื้อ หรือไข่เสียออกก่อนที่จะระเบิดในตู้ ไข่ที่ระเบิดจะทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ อันเป็นก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น  
     6.3 ความดันของอากาศ หากความดันของอากาศต่ำลง จะทำให้การฟักออกเป็นตัวของลูกไก่ลดลง  
     6.4 การให้ไข่ของแม่ไก่ ไข่ฟองแรกๆ ของแม่ไก่จะมีอัตราการฟักออกเป็นตัวต่ำกว่าไข่ปกติ ดังนั้น จึงควรเก็บไข่เข้าฟัก หลังจากแม่ไก่ออกไข่มาแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ 
     6.5 ภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ไม่ว่าร้อนหรือหนาวกว่าปกติ จะทำให้อัตราการฟักออกเป็นตัวของลูกไก่ลดลง เพราะพ่อแม่พันธ์จะกินอาหารลดลง  
     6.6 คุณภาพภายในไข่ พบว่าไข่ที่มีสัดส่วนของไข่ขาวข้นสูง หรือมีไข่ขาวเหลวต่ำ จะมีอัตราการฟักออกเป็นตัวสูงกว่าไข่ที่มีไข่ขาวเหลวสูง 
ปัจจัยที่สำคัญในการฟักไข่ 
     หลังจากผสมพันธุ์และทำการเก็บไข่ได้ 7 วัน (รวบรวมไข่) ก่อนนำไข่เข้าฟักต้องตรวจเช็คเครื่องฟักไข่ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี  เมื่อเก็บไข่สะสมได้ 7 วัน ก็นำมาทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยการเช็ดมาดๆ เดทดอลผสมน้ำอัตราส่วน1:10 แล้วจัดเข้าเครื่องฟัก (setter) ซึ่งกลับไข่ Turning) วันละ 6 ครั้ง (6 ครั้ง/24 ชั่วโมง) 
    การ
ส่องไข่ (candling) เมื่อนำไข่เข้าฟัก 7 วันและ 18 วัน เพื่อนำไข่ไม่มีเชื้อและไข่เชื้อตายออกจากการฟัก การส่องไข่เมื่อนำเข้า ฟัก 18 วัน เป็นการส่องไข่ก่อนนำลงตู้เกิด (Hatcher) หลังจากอยู่ใน
ตู้เกิด 3 วัน (วันที่ 21) ลูกไก่ก็เจาะเปลือกไข่ออกมาได้ เก็บไว้ในตู้เกิด 1 วัน จากนั้นในวันที่ 22 นำลูกไก่ออกจากตู้เกิด ติดเบอร์ขา ชั่งน้ำหนักตัว ซึ่งนำไปลงในทะเบียนประวัติต่อไป
เพื่อไข่ที่ผลิตจะมีความสมบูรณ์ที่สุด  เกษตรกรจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

พบกลุ่มเกษตรกรร่วมวิจัยฯหลังจากไปประชุมที่แม่โจ้

ภาพสมาชิกเครือข่ายที่เลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่๑ในชุดโครงการฯ
 เมื่อเช้าวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๗ 
 นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง  และนางพรพิมล ใจไหว นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการ กลุ่มพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี่การปศุสัตว์ ดำเนินการประชุมเกษตรกรที่เข้าร่วมทำงานวิโครงการจัยการสร้างอาชีพการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำ  ที่จุดเรียนรู้บ้านนายติ๊บ บั้งเงิน ประธานกลุ่ม    เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินการของโครงการฯตามขั้นตอนต่างๆตามเงื่อนไข ให้การวิจัยมีประสิทธิภาพสมตามจุดมุ่งหมายต่อไป และก่อนปิดการประชุมแจ้งข่าวการประกวดไก่ประดู่หางดำพร้อมกับ มอบวัคซีนป้องกันโรคให้ทุกคนนำไปฉีดป้องกันโรคด้วย


ภาพคำแนะนำการเขียนบทความ

แนวทางการเขียนบทความ