สนใจจะชื้อไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่๑ไปเลี้ยงขยายพันธุ์ติดต่อกลุ่มเลี้ยงไก่บ้านห้วยห้างโทร๐๘๙-๐๗๘๓๕๐๓,๐๘๙-๘๓๕๖๒๖๒,๐๘๖-๑๑๓๐๗๕๕

วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ ๑ ไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์แท้

จากการที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้งได้ส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำตั้งแต่ต้นปี๒๕๕๔ โดยการลองผิดลองถูกหวังไว้ว่าจะมีของดีของเด่นด้านปศุสัตว์คือไก่ประดูหางดำแบบว่าเมื่อพูดถึงประดู่หางดำต้องที่เวียงเชียงรุ้ง ความหวังเลือนลางไปบ้างแล้วเพราะว่าเกษตรกรที่ทางสำนักงานส่งเสริมนำมาให้ไปเลี้ยงเขาขายไปเกือบหมดเหลือไว้ทำพันธุ์ไม่กี่ตัว ในช่วงที่กำลังจะเลิกก็ลองโทรไปขอจองพันธุ์ไก่ประดู่หางดำของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ ก็ได้รับการพิจารณาจัดให้ และประสานกันมาตลอดจนวันนี้

วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ นายอำนวย เลี้ยวธารากุล นักวิชาการสัตวบาล ชำนาญการพิเศษ จากศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ ผู้ที่อยู่ในโครงการวิจัยพัฒนาสายพันธุ์ไก่ประดู่หางดำตั้งแต่ต้น ได้เดินทางมาเยี่ยมชมไก่ประดู่หางดำในพื้นที่เวียงเชียงรุ้งเพื่อให้คำแนะนำ ซึ่งจากการที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ได้ดำเนินการหาพันธุ์ไก่ประดู่หางดำจากนายซิมโอน สันทรายเชียงใหม่เข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรกลุ่มสนใจตำบลป่าซาง เลี้ยงจำนวน ๒ รุ่น ๆละ ๓๐๐ ตัว ผลจากการมาเยี่ยมดูลักษณะไก่ก็ทำให้ทราบจากคุณอำนวย ว่าไก่ที่นำเข้าเลี้ยงรุ่นแรกเมื่อเดือนเมษายนนั้น เป็นพันธุ์ประดู่หางดำแท้ส่วนใหญ่ แต่รุ่นที่สองเป็นสูกผสมพ่อประดูหางดำกับแม่ไก่ไข่โรด ผมเองที่เป็นผู้นำไก่เข้ามาส่งเสริมก็ตกใจหน้าแตกเพราะแนะนำให้เกษตรกรใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ อย่างไรก็ตามคุณอำนวยได้พูดให้กำลังใจว่าเกษตรกรเลี้ยงดีเพราะเลี้ยงรอดปกติลูกผสมนำมาเลี้ยงตามบ้านจะตายง่าย  สำหรับการดูลักษณะการสังเกตุพันธุ์แท้ ก็บอกว่าดูง่ายๆจาก แข้งไก่จะเป็นสีดำปากดำ หน้าแดง หงอนถั่ว สีขนจะดำทั้งตัว ผมเองก็ไม่เคยทราบรายละเอียดวันนี้ก็ดีใจที่ได้รับข้อมูลมากขึ้น คุณอำนวย ได้มอบหนังสือการดูสักษณะและการเลี้ยงไว้ให้จำนวนหนึ่ง และได้สละเวลาให้ความรู้แก่เกษตรกรกลุ่มไก่บ้านห้วยห้าง (๑กลุ่ม๑อำเภอของเวียงเชียงรุ้ง)ที่จะอบรมให้ความรู้การเลี้ยงและนำไก่จากศูนย์ฯมาเลี้ยงหนึ่งรุ่นเป็นพันธุ์ทั้งหมดประมาณ ๑๐๐๐ ตัว เพื่อให้เกิดรูปธรรม ตอนแรกจะชื้อแบบแรกเกิด คุณอำนวยบอกว่ากลัวลูกไก่ตายขอกกให้ก่อน สองอาทิตย์ ให้ไปรับในวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๕ นี่ขนาดเจ้าของไก่มาเอง กว่าจะได้พันธุ์แท้ก็เกือบสามเดือนตั้งแต่ติดต่อกับคุณอำนวย ตอนต้นปีงบประมาณช่วงเดือนตุลาคม ว่าอยากจะทำให้เวียงเชียงรุ้งมีชื่อว่าเป็นแหล่งไก่ประดู่หางดำแท้ๆ ก็หวังว่าความพยายามคงสำเร็จในไม่ช้า

ไก่ประดูหางดำเชียงใหม่ 1 เป็นไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้ ที่กรมปศุสัตว์และสำนักงานกองทุนวิจัย (สวก) ร่วมกันพัฒนาขึ้นมาโดยดำเนินงานที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ ตั้งแต่ปี 2545
สักษณะภายนอกประจำพันธุ์
  • เพศผู้ มีสร้อยคอ-หลังสีแดงประดู่ ขน หาง ลำตัว แข้ง ปาก สีดำ ใบหน้า สีแดง         ตาสีเหลืองอมน้ำตาล ผิวหนังสีสีขาวอมเหลือง หงอนถั่ว
  • เพศเมีย สักษณะเหมือนเพศผู้ยกเว้นที่ไม่มีขนสร้อย คอ หลัง
ลักษณะทางเศรษฐกิจ
เมื่อเลี้ยงในระบบฟาร์ม
  • อายุ ๑๒ สับดาห์ น้ำหนักตัวเพศผู้ ๑๓๕๗ กรัมเพศเมีย ๑๐๙๑ กรัม
  • อายุ ๑๖ สับดาห์ น้ำหนักตัวเพศผู้ ๑๙๐๒ กรัม เพศเมีย ๑๔๓๖ กรัม
  • อายุเมื่อให้ไข่ฟองแรก ๑๘๘ วัน 
  • ผลผลิต ๑๔๗ ฟอง/แม่/ปี
เมื่อเลี้ยงในหมู่บ้าน
  • อายุไข่ฟองแรก ๒๒๕ วัน
  • ให้ไข่ ๔๒ ฟอง/แม่/ปี
  • ให้ลูกไก่ ๒๙ ตัว/แม่/ปี (แม่ไก่ฟักไข่และเลี้ยงดูตามธรรมชาติ)
เอื้อเฟื้อภาพจากคุณอำนวย เลี้ยวธารากุล ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่



 วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๕  แวะเยี่ยมการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำบ้านนายสุขแก้ว มณีจันทร์สุข และนายเจียม ทาวัน หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ทราบว่ามีตายไปสองตัวจาก ๖๐ ตัว และไก่ประดู่รุ่นแรกบ้านลุงสุขแก้ว ได้ฟักออกมาแล้วก็ยังคงลักษณะของประดู่หางดำ  สอบถามลึกๆลุงสุขแก้วบอกว่าเป็นแม่ประดู่ ที่ผู้เขียนนำมาจากเชียงใหม่ แต่พ่อมีทั้งประดู่หางดำสองตัวและพันธุ์ผสมปนอยู่ด้วย ก็คงต้องรอให้โตกว่านี้จึงจะทราบว่ายังคงลักษณะไว้ได้หรือไม่  ส่วนนายเจียมมีไก่พื้นเมืองอยู่แล้วได้แนะนำให้ขายตัวผู้ออกแล้วชื้อพ่อพันธุ์จากลุงสุขแก้วมาคุมฝูงแทน
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำ
ความคิดเห็นที่หนึ่ง
โบราณว่า"ประดู่หางดำ..ไม่ทำก็มีกิน"
ว่าแต่เป็นประดู่สวยงาม หรือประดู่ไก่ชนครับ
ความคิดเห็นที่๒
ผมไม่เคยได้ยินคำโบราณนี้เลยครับ เชยจริงๆ ก็เลยไม่ทราบความหมายลึกชึ้ง
ส่วนไก่ประดู่ที่ผมนำมาส่งเสริมอย่างที่เล่าไว้ตอนแรกก็คัดไก่ชนไก่พื้นเมืองที่มีลักษณะประดูหางดำที่กระจายทั่วประเทศมาคัดและนำมาเลี้ยงในฟาร์มเพื่อผสมกันให้ได้พันธุ์แท้ที่ลักษณะนิ่งแล้ว จึงนำมาส่งเสริมให้เลี้ยงครับ  ถึงแม้มันจะถูกปรับมาเป็นไก่ขุนแต่นิสัยไก่ชนก็ยังมีให้เห็นครับ
ความคิดเห็นที่๓
เป็นเรื่องที่น่าเสียดายครับ
ที่เอาไก่ชั้นดีมาทำไก่ขุนเพียงอย่างเดียว น่าจะพัฒนาให้เป้นไก่ชนที่มีคุณภาพเป็นหลัก..เพราะไก่ชนกินอาหารเท่ากับไก่ขุน ลงทุนทุกอย่างเท่าๆกัน แต่มูลค่าทางเศรษฐกิจ
ต่างกันมาก ครับ ไก่ขุน กิโลละไม่เกิน ๑๐๐ บาท..แต่ไก่ชนกิโลละอย่างน้อย ๒๐๐ บาทและอาจจะถึง ๑๐๐๐ บาท..
ฉะนั้นอยู่ที่ความคิดตั้งต้นนะครับ..ถ้าเราคิดที่ไก่ขุน เราก็ปิดประตูไก่ชน.. แต่ถ้าเราคิดไก่ชน..ประตูของไก่ขุนก็ยังเปิด..เพราะลูกไก่ที่สามารถเป็นไก่ชนได้ไม่น่าจะเกิน ๓๐ เปอร์เซ้นต์ ที่เหลืออีก ๗๐ % เราก็มาทำไก่ขุนต่อได้นะครับ..
แหม..จับไก่ชนไปเป็นไก่ขุน เสียดายจริงๆ
เอาเหล็กกล้ามาตีเป็นอีโต้
จะอวดโอ่โชว์ใครเขาได้หรือ
หากทำดาบปราบมารใครต้านมือ
ย่อมระบือลือไกลอยากไปยล
ประมาณนี่ครับ..
ความคิดเห็นที่๔
ผมเห็นด้วยกับความคิดของพี่ฝากฝันอย่างที่พี่เคยแนะนำตอนไปงานหมากเม่าและข้าวหลาม ไม่ได้ปิดกั้นการพัฒนาแต่อย่างไร มีข้อมูลวิชาการที่ผ่านการวิจัยมาว่า ลักษณะดีเด่นของไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ ๑ มีดังนี้
  • เป็นไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์แท้ มีการสร้างพันธุ์ขึ้นมาอย่างเป็นทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ มีขั้นตอน วิธีการสร้าง มีลักษณะประจำพันธุ์ทั้งภายในภายนอก และลักษณะทางเศรษฐกิจ เช่นไก่พันธุ์แท้ของทั่วโลก สามารถแสดงความเป็นเจ้าของพันธุ์ของประเทศไทยได้
  • เป็นฝูงไก่ที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม ทำให้สามารถไปพัฒนาพันธุ์ให้เป็นสายพันธุ์(variaty)ที่ต้องการได้ เช่นสายพันธุ์ทนโรค ,ชนเก่ง,โตเร็ว,ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารดี เป็นต้น
  • เป็นไก่พื้นเมืองที่ยังสามารถในการเลี้ยงดู การจัดการในชนบทได้ แต่มีสมรรถภาพการผลิตเมื่อเลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจที่สูงกว่าไก่พื้นเมืองทั่วไป โดยน้ำหนักตัวที่อายุ ๑๒และ๑๖ สับดาห์ สูงกว่า ๓๓ และ๓๖ เปอร์เซนต์ตามลำดับ ส่วนการให้ไข่สูงกว่า ๔๐ เปอร์เซนต์(เมื่อเลี้ยงในฟาร์ม) และได้ลูกไก่มากกว่า ๓๒ เปอร์เซนต์ (เมื่อเลี้ยงในหมู่บ้าน)
  • เป็นไก่ที่มีขนลำตัวสีดำ ปากดำ และแข้งดำ ซึ่งเป็นลักษณะภายนอกของไก่พื้นเมืองที่ตลาดส่วนใหญ่ของประเทต้องการ เพราะแม้ชำแหละไก่แล้ว สีดำของขนและปากจะหายไป แต่สีแข้งของไก่สดที่วางไว้จำหน่ายยังคงเป็นสีดำ ทำให้มั่นใจว่าเป็นไก่พื้นเมืองจริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น