สนใจจะชื้อไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่๑ไปเลี้ยงขยายพันธุ์ติดต่อกลุ่มเลี้ยงไก่บ้านห้วยห้างโทร๐๘๙-๐๗๘๓๕๐๓,๐๘๙-๘๓๕๖๒๖๒,๐๘๖-๑๑๓๐๗๕๕

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การพบกลุ่มเกษตกรผู้ร่วมวิจัยบ้านห้วยห้าง


 เมื่อเช้าวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และนางพรพิมล ใจไหว นักวิชาการชำนาญการ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย เดินทางเยี่ยมพบกลุ่มเกษตรกรร่วมวิจัยโครงการศึกษาระบบการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่เป็นอาชีพอย่างยั่งยืน เพื่อชี้แจงสรุปผลการประเมินโครงการฯที่ผ่านมาของผู้ทรงคุณวุฒิให้เกษตรกรได้ทราบและดีใจกับผลงานของตนเองการดำเนินการโครงการปีต่อไป  ขณะเดียวกันก็นำเสนอแนวทางโครงการฯต่อเนื่องในปี๒๕๕๗ สอบถามความสมัครใจ ความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรมของเกษตรกรแต่ละราย จำนวน ๑๐ ราย

 เกษตรกรส่วนใหญ่บ้านห้วยห้าง ตำบล ป่าซาง จำนวน ๗ รายและจากพื้นที่ตำบลดงมหาวัน จำนวน ๒ ราย
สรุปผลการประเมินโครงการฯที่ผ่านมาของผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ระดับคะแนนดีมาก เนื้อหาครบถ้วน มีความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลดี
ควรปรับปรุงการนำเสนอยังไม่ชัดเจนอาจมีความคลาดเคลื่อน
การนำไปใช้ประโยชน์เป็นไปได้อย่างมาก ทั้งในการวิจัยพัฒนาและการพัฒนาโดยตรง
ข้อเสนอแนะให้เผยแพร่ผลงานให้ถึงผู้ใช้ควรทำทุกโอกาส และทุกกิจกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม
 ก่อนการประชุม เจ้าหน้าที่จากองค์การบริหารส่วนตำบลดงมหาวัน มารับเอาไก่ประดู่หางดำไปเลี้ยงในโครงการปศุสัตว์อินทรีย์ปี ๒๕๕๖ จำนวน ๒๐๐ ตัว

โครงการมีแนวทางการเลี้ยงไก่แบบปล่อยธรรมชาติ แต่ให้มีระบบป้องกันโรคที่ได้มาตรฐาน
ในช่วงตอนบ่ายพบเกตรกรจากพื้นที่ตำบลดงมหาวัน จำนวน ๒ ราย 

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

นำเสนอสรุปผลโครงการพัฒนาการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำฯในที่ประชุมสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด

 นางพรพิมล ใจไหว นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการ หัวหน้าโครงการวิจัยได้นำเสนอสรุปผลโครงการพัฒนาการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำฯในที่ประชุมสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๖ เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับให้เจ้าหน้าที่จากสำนักงานปศุสัตว์อำเภอทั้ง ๑๘ อำเภอของจังหวัดเชียงรายรับทราบ และสามารถนำไปสงเสริมพัฒนาขยายผลในแต่ละอำเภอตามความเหมาะสมกับความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ต่อไป


วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

อ.ดร.ศิริพร ,อ.นงสพ.สุวิทย์,สพ.ญ.ปราณี มาเยี่ยมกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ประดูหางดำ

 เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๖ อาจารย์ ดร.ศิริพร กีรติการกุล อาจารย์ น.สพ.สุวิทย์ โชตินันท์ และสพ.ญ.ปราณี รอดเทียน ได้เดินทางมาที่กลุ่มเลี้ยงไก่ประดู่หางดำบ้านห้วยห้าง เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเลี้ยงไก่พื้นเมืองและนำเสนอแนวคิดการวิจัยการพัฒนาระบบการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและการผลิตเนื้อไก่ที่ปลอดภัยสู่ผู้บริโภค โดนจะมีการต่อยอดโครงการที่กลุ่มเกษตรกรได้ร่วมดำเนินการวิจัย ให้มีการพัฒนารูปแบบการเลี้ยงที่ปลอดภัยตั้งแต่ฟาร์ม ถึงโรงฆ่า การขนส่งการวางแผงจำหน่ายที่ดีสะอาดปลอดภัยด้วย ตลอดจะมีการจัดทำร่างมาตรฐานการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบปล่อยอิสระตามธรรมชาติ( Free range) ในระยะต่อไป ซึ่งเกษตรกรที่มาร่วมประชุมก็ยินดีร่วมมือที่จะเข้าร่วมวิจัยต่อไป



วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

9472แม่ทา.wmv

ข่าวน่าสนใจตัดมาจาก หนังสือพิมพ์

เวทีสัมมนาวิชาการ “สานพลัง ตั้งรับ และปรับตัวกับภัยคุกคาม ระบบอาหารท้องถิ่นภาคเหนือ” ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเร็ว เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานทุกระดับตามยุทธศาสตร์ 3 ปีที่ผ่านมา และกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานต่อเนื่องในปี 2557-2560 ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้นโยบายด้านอาหารและสถานการณ์ที่เป็นภัยคุกคามต่อ ความมั่นคงด้านอาหารจากภาคีความร่วมมือที่ทำงานด้านนโยบายประเทศ เพื่อเพิ่มเติมมุมมองที่กว้างขึ้นของนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ชุมชนสามารถตั้งรับและปรับตัวอันจะนำไปสู่การรักษาฐานอาหารให้รุ่น ลูกหลานต่อไป

               รศ.ดร.จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ รองผู้อำนวยการ สกว. ด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และผู้อำนวยการฝ่ายเกษตร กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร ได้แก่ โรคสัตว์และโรคพืชซึ่งส่งผลกระทบได้อย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังมีพลังงาน น้ำ เศรษฐกิจ โครงสร้างประชากรซึ่งมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น และการสูญเสียทางทรัพยากร ปัจจุบันทั่วโลกมีประชากรที่ขาดอาหารมากกว่า 1,000 พันล้านคน โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกาและบางประเทศที่ทรัพยากรไม่เอื้ออำนวยและยากจนทำให้ เกิดความอดอยาก รวมถึงปัญหาผลผลิตไม่ดี และขาดการลงทุนในภาคการเกษตรซึ่งต้องมีการใช้เทคโนโลยี ทรัพยากร และที่ดินจำนวนมาก

               ดังนั้น การดำเนินการเพื่อความมั่นคงด้านอาหารและคุณค่าทางอาหารจึงจำเป็นต้องมีการ ลงทุนในภาคเกษตรของผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งต้องพยายามสนับสนุนนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตผลทางการเกษตร รวมถึงระบบ ซึ่ง OECD และ FAO วางเป้าหมายว่าในอนาคตอันใกล้นี้อาหารและพลังงานจะเข้าใกล้กันมากขึ้น ส่วนในระยะยาวมองว่าจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตลอดจนมีการใช้ดิน น้ำ ทรัพยากรชายฝั่ง ระบบนิเวศ พืชพันธุ์อย่างยั่งยืน อีกทั้งต้องมีการจัดการพืชผลทางการเกษตรที่ดีขึ้น ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมากขึ้น และเพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยเพื่อจัดการโครงสร้างและส่งเสริมสนับสุนนการ ผลิตให้มากขึ้น ลดการสูญเสียโดยอาศัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและระบบการขนส่งที่จะต้อง อาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น

               ในส่วนของ สกว. มีการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อความมั่นคงอาหาร การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ ซึ่งในส่วนของงานวิจัยมีทั้งด้านความมั่นคงอาหาร ด้านอาหารปลอดภัยซึ่งดำเนินการร่วมกับ อย. ในการวิเคราะห์ปัญหาเกษตรกรและปัจจัยหรือเงื่อนไขที่มีผลต่อการผลิตอาหาร ปลอดภัยเพื่อออกแบบการสนับสนุนที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการเพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ตลอดจนโครงการฟุตพริ้นน้ำของพืชอาหาร อาหารสัตว์ และพลังงานเพื่อจัดการทรัพยากรน้ำอย่างปลอดภัย ซึ่งมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ การลดปริมารการใช้น้ำของพืช การพัฒนาระบบชลประทานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อความตึงเครียดด้านน้ำใน อนาคต ส่งเสริมให้เกิดการขยายพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในกระบวนการแปรรูปวัตถุดิบและกระบวนการผลิตเอทานอ ล ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านฉลาก WF ของผลิตภัณฑ์เกษตรเพื่อสร้างความตระหนักด้านน้ำในภาคการบริโภค ส่วนแนวทางในอนาคตคือการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ คนและสังคมมีความเข้มแข็ง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังเร่งดำเนินการเรื่อง GAP ให้เป็นมาตรฐานบังคับเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

ฉีดวัคซีนป้องกันโรคในไก่พื้นเมือง

คอกลุงชัยเพชรแออัดไปหน่อยไก่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์
สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ดำเนินการทำวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเชิล โรคหลอดลมอักเสบ และโรคกัมโบโร่ ให้กับไก่พ่อแม่พันธุ์ไก่ประดู่หางดำของกลุ่มเกษตรกรบ้านห้วยห้าง เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๖ ช่วยๆกันไปตามประสา


ลุงชัยเพชร จับคู่ลุงติ๊บ ช่วยกันจับไก่ให่หมอจันทร์ฉีดวัคซีน

สภาพการเลี้ยงของป้าทับที่มีบริเวณสวนผักให้ไก่กินเขียวๆด้านหลัง

ป้าอัมพร และป้าทับ จับคู้ลงมือจับไก่ช่วยกันทำให้เสร็จงานเร็วไม่เหนือแรง

สภาพการเลี้ยงปล่อยสวนหลังบ้าน มีพ่อไก่จับรั้วทางเข้าคุมฝูง

วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเดินทางมาเยี่ยมกลุ่มเลี้ยงไก่บ้านห้วยห้างของอาจารย์ ดร.ศิริพร กีรติการกุล

 เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ อาจารย์ ดร.ศิริพร กีรติการกุล และทีมงานได้เดินทางมาเยี่ยมเกษตรกรเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ ๑ ที่บ้านห้วยห้าง เพื่อเก็บข้อมูลการเลี้ยงและให้คำแนะนำด้านการเลี้ยงให้ได้มาตรฐานมีการป้องกันโรคที่ดีเป็นมาตรฐานฟาร์ม เพื่อพัฒนาเป็นสินค้าปลอดภัยในนามผลิตภัณฑ์ "ไก่นิลล้านนา" ขึ้นห้างแมคโครเป็นการก้าวสู่การตลาดที่มั่นคงยิ่งขึ้นในระยะยาว

วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ส่งเสริมการจำหน่ายไก่ประดู่หางดำของเครือข่าย

 ในช่วงเดือนพฤษภาคท ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา สำนักงานปศสุัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้งมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำต่อเนื่องคือ มีการนำไก่ประดู่หางดำเข้าในวาระอาชีพของหมู่บ้านพัฒนาเศณษฐกิจพอเพียงของสำนักงานพัฒนาชุมชน จำนวน ๓ หมู่บ้าน เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการว่าจะเลือกเลี้ยงสัตว์ชนิดไหน ปรากฏวา่าทั้งสามหมู่บ้านเมื่อได้ฟังการนำเสนอการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำก็ตอบรับจึงได้มีการรวบรวมไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่๑ ในหมู่บ้านห้วยห้างที่ได้รับการพัฒนาแล้ว เพื่อขายเข้าโครงการอาชีพของสำนักงานพัฒนาชุมชนเพื่อเอาไปแจกให้กลุ่มหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงหมู่บ้านละ ๓๓ กิโลกรัม ได้แก่ บ้านดงชัย หมู่ ๒ ตำบลทุ่งก่อ บ้านป่าซาง หมู่ที่ ๓ ตำบลป่าซางและบ้านนาเจริญ หมู่ที่๙ ตำบลป่าซาง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย
นอกจากนั้นยังเอาไก่ประดู่หางดำไปออกร้านโชว์ในงานสับประรดนางแล ลิ้นจี่ ของดีเมืองเชียงราย ระหว่างวันที่ ๒๔ พค-๒ มิย.๕๖ ที่สวนดอกไม้งามริมน้ำกก เพื่อให้ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่๑ เป็นที่รู้จักมากขี้นในลักษณะ ไก่ดี โตไว ไข่ดก อกสวย

 จัดร้านนิทรรศการมีชีวิตในงานสับประรดนางแล ที่สวนดอกไม้งามริมน้ำกก จังหวัดเชียงราย

 มอบไก่ให้เกษตรกรจำนวน ๒๗ รายๆละ ๔ ตัว กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านป่าเลา ตำบลดงมหาวัน 

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

ออกพื้นที่เก็บข้อมูลต้นทุนการผลิตไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ ที่บ้านสมาชิกกลุ่มเกษตรกรบ้านห้วยห้าง

เมื่อวันที่  ๒๙ เมษายน ๒๕๕๖ นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และนางพรพิมล ใจไหว นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย ออกพื้นที่เก็บข้อมูลต้นทุนการผลิตไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ ที่บ้านสมาชิกกลุ่มเกษตรกรบ้านห้วยห้าง จำนวน ๒ ราย ได้แก่ นางสุธรรม ธรรมศร และนายชัยเพชร ภูชัยเจริญ ซึ่งมีปัญหามากในการเก็บข้อมูลเพราะการเลี้ยงของเกษตรกรทั้งสองท่านหลากหลาย ไม่ได้ชั่งน้ำหนักอาหารไว้เลย จะใช้การตักและประมาณเอาเท่านั้น ยากในการหาข้อสรุป ในการคำนวนต้นทุน  คาดว่าถ้าเก็บข้อมูลครบทั้ง ๗ รายที่เข้าร่วมวิจัยคงจะพอได้ข้อมูลที่พอใช้เป็นประโยชน์ได้
 นางพรพิมล สอบถามนายชัยเพชร










 ชั่งน้ำหนักไก่บ้านนางสุธรรม ธรรมศร