ชื่อโครงการ การศึกษาระบบการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่เป็นอาชีพที่ยั่งยืนของกลุ่มเกษตรกรจังหวัดเชียงราย
(A Study on sustainable raising of
Pradu-hangdum native chicken in Chiang Rai Province)
ชื่อหัวหน้าโครงการ : นางพรพิมล ใจไหว (Mrs. Pornpimon Jaiwai) ตำแหน่ง นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย
เลขที่ 885 ถ.พหลโยธิน ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย 57000
โทรศัพท์/โทรสาร 0-5371-1604 ต่อ 20, 089-0178014 email: ppimon_b@hotmail.com
ชื่อผู้ร่วมโครงการ 1 : นายสุพล ปานพาน (Mr. Supol Panphan) ตำแหน่ง ตำแหน่ง นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการ
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย เลขที่ 885 ถ.พหลโยธิน
ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย 57000 โทรศัพท์/โทรสาร 0-898381597 email:
supolpp@gmail.com
ชื่อผู้ร่วมโครงการ 2: นางสาวอมรรัตน์ วรรณโชติ (Mss. Amonrat Wannachote) ตำแหน่ง นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
สำนักงานปศุสัตว์เขต 5 ถ.ห้วยแก้ว ต.ช้างเผือก อ.เมือง
จ.เชียงใหม่ โทรศัพท์ 084-6082503 email: wannachote47@hotmail.com
รายชื่อเกษตรกรเครือข่ายที่ร่วมโครงการ
- นายติ๊บ บั้งเงิน 42 หมู่ 7 ต.ป่าซาง อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
- นางอัมพร พลฤทธิ์ 12 หมู่ 7 ต.ป่าซาง อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
- นายชัยเพชร ภูชัยเจริญ 96 หมู่ 7 ต.ป่าซาง อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
- นางสุธรรม ธรรมศร 4 หมู่ 7 ต.ป่าซาง อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
- นายคำฟอง จันทะอินทร์ 39 หมู่ 7 ต.ป่าซาง อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
- นายกิติวุฒิ นัยติ๊บ หมู่ 7 ต.ป่าซาง อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
- นายบุญชวน มะลัยโย 91 หมู่ 10 ต.ดงมหาวัน อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
หลักการและเหตุผล
การเลี้ยงไก่พื้นเมืองเป็นวิถีชีวิตของเกษตรกรในชนบทมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล
เนื้อไก่พื้นเมืองสามารถใช้เป็นอาหารโปรตีนราคาถูก
และหาได้ง่ายใช้บริโภคในครัวเรือน และยังเป็นแหล่งสร้างรายได้เสริมแก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี
เนื่องจากเนื้อไก่พื้นเมืองเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ตลาดมีความต้องการสูงไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงในชนบทและหมู่บ้านต่างๆ
มีหลากหลายพันธุ์ แต่โดยทั่วไปส่วนใหญ่แล้ว
ไก่พื้นเมืองในหมู่บ้านจะมีสายพันธุ์ไก่ชน ที่มีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ
เนื่องจากลักษณะการเลี้ยง เป็นการเลี้ยงให้ไก่ออกหากินเองตามธรรมชาติในบริเวณบ้าน มีการให้อาหารเสริมบ้างเมื่อไก่กลับเข้าเล้าหรือโรงเรือนในตอนเย็น
และยังมีอยู่บางส่วนที่ไม่มีเล้าหรือโรงเรือน จะนอนตามต้นไม้หรือไต้ถุนบ้าน
ซึ่งการเลี้ยงในลักษณะนี้ทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตต่ำ
ได้ผลตอบแทนจากการเลี้ยงไก่พื้นเมืองน้อย และยังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคระบาดที่ก่อให้เกิดผลเสียทางเศรษฐกิจ
และทำให้เกิดผลกระทบด้านสาธารณสุขอีกด้วย
ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่
เป็นพันธุ์ไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์แท้ที่กรมปศุสัตว์และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
(ส.ก.ว.)ร่วมกันพัฒนาพันธุ์ขึ้นมาให้เป็นไก่พื้นเมืองที่มีความสามารถในการเลี้ยงดู
และการจัดการในชนบทได้
แต่มีสมรรถภาพการผลิตเมื่อเลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจที่สูงกว่าไก่พื้นเมืองทั่วไป
นอกจากนี้ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ ยังเป็นไก่ที่มีขนลำตัวสีดำ ปากสีดำ และแข้งสีดำ
ซึ่งเป็นลักษณะภายนอกของไก่พื้นเมืองที่ตลาดส่วนใหญ่ของประเทศต้องการ
เพราะแม้ชำแหละไก่แล้ว สีของขนและปากจะหายไป
แต่แข้งของไก่สดที่วางจำหน่ายยังคงเป็นสีดำ ทำให้มั่นใจว่าเป็นไก่พื้นเมืองจริง
(อำนวย, 2553)
จากลักษณะที่ดีเด่นของไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่นี้
เหมาะสมที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพเสริม
ให้เกิดความยั่งยืนในชนบท โดยอาศัยหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่เกษตรกรสามารถผลิตพันธุ์เองได้
รวมถึงวิธีการเลี้ยงที่ใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาแบบท้องถิ่นผนวกกับเทคโนโลยี
วิชาการ การเลี้ยงไก่ที่ทันสมัยในปัจจุบัน
ตลอดจนการปรับลักษณะการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรกรที่เดิมเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ
ให้เป็นการเลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อย ให้อาหารที่เกษตรกรสามารถหาได้ในท้องถิ่นร่วมกับอาหารสำเร็จรูปเลี้ยงไก่เพื่อลดต้นทุนการผลิต
เพื่อให้ไก่มีการเจริญเติบโตเร็ว เกษตรกรก็จะสามารถจำหน่ายไก่ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น
ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ที่มุ่งศึกษาถึงระบบการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ที่เลี้ยงโดยเกษตรกรในภูมิสังคมชนบท
ให้ได้รูปแบบที่เกษตรกรเลี้ยงไก่แล้วมีรายได้เสริมให้กับครอบครัว ใช้เป็นข้อมูลและตัวอย่างให้เกิดการเรียนรู้และสร้างอาชีพในท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาให้เกิดระบบการสร้างอาชีพการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ในกลุ่มเกษตรกรจังหวัดเชียงรายอย่างยั่งยืน
2. เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่
3. เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ด้านการเลี้ยงและการจำหน่ายไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่
ให้เกษตรกรหรือผู้สนใจมาเรียนรู้ศึกษาดูงาน
ปฏิทินการดำเนินโครงการ
กิจกรรม ช่วงเวลาปฏิบัติงาน
1.
คัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ เมษายน
2555
2. ปรับปรุงฟาร์มและระบบการเลี้ยง เมษายน – พฤษภาคม 2555
3. จัดหาพ่อแม่พันธุ์ไก่ เมษายน
2555
4. ดำเนินการเก็บบันทึกข้อมูล พฤษภาคม
2555 – เมษายน 2556
5. สรุปผล เมษายน
2556
วิธีดำเนินการสร้างระบบอาชีพการเลี้ยงไก่
1 เสนอโครงการวิจัยต่อปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย
เพื่อขอความเห็นชอบให้ดำเนินโครงการวิจัยทำการคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการวิจัย
โดยเน้นคัดเลือกจากเกษตรกรที่มีการรวมกลุ่มเข้มแข็ง
มีกระบวนการกลุ่มทีชัดเจนและต่อเนื่อง เกษตรกรกลุ่มดังกล่าวมีการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเป็นอาชีพเสริมอยู่แล้ว จัดประชุมร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ทำโครงการวิจัยและเกษตรกรเครือข่ายผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง
เพื่อหาแนวทาง ข้อตกลง ในการดำเนินโครงการวิจัยคัดเลือกเกษตรกรแกนนำ จำนวน 7 คน
เข้าร่วมโครงการวิจัย โดยให้สมาชิกทุกคนเป็นผู้ลงมติคัดเลือกเกษตรกรแกนนำจัดโครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน
แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมในด้านการจัดการเลี้ยงตามหลักวิชาการ
การประยุกต์ใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นมาเป็นอาหารไก่
การใช้น้ำหมักชีวภาพเสริมในอาหารและน้ำดื่มให้ไก่ การใช้สมุนไพรในการป้องกันโรค และการทำบัญชีฟาร์มปรับปรุงโรงเรือนเลี้ยงไก่
และอุปกรณ์การเลี้ยงให้อยู่ในสภาพดีและเหมาะสมสนับสนุนพันธุ์ไก่ประดู่หางดำพร้อมอาหารจำนวนหนึ่งแก่เกษตรกรบันทึกข้อมูล การทำบัญชีรายรับ
รายจ่าย ของฟาร์มเชิญผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น เกษตรกร
ตลอดจนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง มาศึกษาดูงานในกลุ่มเกษตรกรโครงการวิจัย
เพื่อนำเสนอระบบการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ที่ยั่งยืน
อันจะนำไปสู่การขยายผลสู่เกษตรกรรายอื่นๆที่สนใจและมีศักยภาพการเลี้ยง
โดยท้องถิ่นเป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงต่อไปจัดทำสื่อเรียนรู้
นำเสนอระบบการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ ในสภาพภูมิสังคมชนบท
โดยใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับเทคนิควิธีการเลี้ยงไก่โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่เกษตรกรและผู้สนใจในท้องถิ่นต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น