สนใจจะชื้อไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่๑ไปเลี้ยงขยายพันธุ์ติดต่อกลุ่มเลี้ยงไก่บ้านห้วยห้างโทร๐๘๙-๐๗๘๓๕๐๓,๐๘๙-๘๓๕๖๒๖๒,๐๘๖-๑๑๓๐๗๕๕

วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558

เยี่ยมฟาร์มไก่นางสุธรรม ธรรมศร และนายกิติวุฒิ นัยติ๊บ สมาชิกกลุ่มร่วมวิจัยการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำ

 เมื่อบ่ายของวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๘ นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ออกเยี่ยมสมาชิกกลุ่มร่วมวิจัยการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่๑ ซึ่งรายแรกนางสุธรรม ธรรมศร การเลี้ยงก็ยังดีเยี่ยมคงเส้นคงวาเพียงแต่ลดจำนวนแม่ไก่ให้มีแค่ ๒๐ ตัวเพราะสุขภาพไม่ดีข้อเข่าเสื่อมหาอาหารหมักลำบาก แต่ว่าลูกชายก็ดำเนินการซ่อมแซมที่หั่นหยวกกล้วยให้ใช้การได้ดีไม่ต้องนั่งหั่นให้เหนื่อยอีกแล้ว
ไก่พ่อพันธุ์ตัวผู้ที่ชอบตีกันตัวแพ้ถูกจับมาขังรอขายให้เครือข่ายใหม่ต่อไป

เตรียมกระสอบป่านใส่ไก่ขนย้าย เจาะรู้มากหน่อยอากาศร้อนตอนบ่าย

ชมหน้าเล้าไก่ป้าสุธรรม

ไก่หลบร้อนอยู่ในเล้าครับ

มีหลายสิบตัวทั้งแม่เก่าและแม่ที่คัดไว้ทดแทน








ลูกไก่ที่โตพร้อมจะเอาลงปล่อยคอกขุน





ลักษณะอาหารที่ใช้เลี้ยงทุกวัน

เครื่องหั่นหยวกที่ลูกชายป้าสุธรรม ลับคมใบมีดให้ใช้งานได้ดีไม่ต้องออกแรกมากๆอีกแล้ว

กรงเลี้ยงลูกไก่ที่ฟักจากตู้รุ่นแรก
 รายที่สองนายกิติวุฒิ นัยติ๊บ ก็นับว่าเป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่ชอบทดลอง ลองผิดลองถูกแบบที่อาจารย์อำนวยผู้สร้างไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ได้เคยวิจารย์ให้ฟังว่า"เกษตรกรบ้านเราชอบทำอะไรแปลกๆแทนที่จะทำตามอย่างที่นักวิชาการแนะนำให้ดีถูกต้องก่อน และกว่าจะรู้ว่ามันไม่ดีก็เสียเวลาหรือไม่ก็หมดทุนรอนไปก่อน เช่นการลงทุนชื้อที่ผสมอาหาร ก็ไม่ทำแต่ไปหาชื้อเครื่องผสมปูนที่ถูกกว่ามาใช้อย่างนี้เป็นต้นอ้างว่าลดต้นทุนซึ่งเอาเข้าจริงๆมันก็ใช้ไม่ได้"  กิติวุฒิลองเอาหมูมาเลี้ยง เอาเป็ดมาเลี้ยง เอาตู้ฟักไข่ของกลุ่มจากลุงติ๊บ ประธานกลุ่มมาใช้ต่อเพราะลุงติ๊บทำที่โยกกลับไข่อัตโรมัติเสีย เอาท่อพีวีซีมาต่อมือโยกแทนแล้วก็ไม่มีเวลาโยกลืมมั่งการฟักจึงไม่ดี  เลยผ่องถ่ายมาให้กิติวุฒิ  วันนี้จึงไปดูและถ่ายภาพที่เสียจะส่งให้ผู้ผลิตตู้ฟักตราไก่แจ้ส่งอะไหล่มาให้

ขาโยกด้านในที่หลุดหักไป

ทำให้ตู้ฟักไม่สามารถกลับไข่อัตโรมัติ

กลายมาเป็นอัตโรมืออย่างที่เห็น ตลกจริงๆ

สู้กันต่อไป
 
ลูกจากตู้ฟักรุ่นแรก

ได้มาเป็นรุ่นเดียวกันหลายตัว

ข้างหลังกรงลูกไก่จะมีเลี้ยงหมูแบบโรยแกลบหยาบจากโรงสีพื้นทุกวันกันกลิ่นเหม็น


ไก่พ่อแม่พันธุ์หากินริบๆคอกหมูด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

เอาพ่อพันธุ์ไก่ประดู่หางดำไปให้เครือข่ายเลี้ยงไก่ประดู่ที่บ้านดงชัย

เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘ นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง เยี่ยม ฟาร์มเลี้ยงไก่นายสุขแก้ว มณีจันทร์สุข ประธานกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำ บ้านดงชัย ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย จัดหาไก่พ่อพันธุ์ประดู่หางดำไปทดแทนตัวที่ตาย  ตั้งใจจะให้เป็นแหล่งเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลทุ่งก่อ 













วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

ประชุมกลุ่มเลี้ยงไก่ประดู่หางดำประจำเดือน มีนาคม ๒๕๕๘

นางพรพิมล ใจไหว นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการ จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย และทีมงานปฏิบัติงานการประชุมกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมทำวิจัยการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำแบบธรรมชาติสำหรับเกษตรกรรายย่อยอย่างยั่งยืน เมื่อเช้าวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๘ ที่บ้านนายติ๊บ บั้งเงิน ประธานกลุ่มเลี้ยงไก่ประดู่หางดำบ้านห้วยห้าง ตำบลป่าซางอำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย เริ่มแรกด้วยบริหารบัญชีการจัดการส่งไก่ไปขึ้นห้างแมคโครตามที่อาจารย์ศิริพร กีรติการกุล หัวหน้าผู้ประสานโครงการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ประสานไว้ให้ คืนเงินให้เจ้าของไก่แต่ละรายที่จับมาขายจัดทำบัญชีอย่างเป็นระบบ จากนั้นเริ่มการประชุมมีหัวข้อสำคัญการเตรียมยืมอาคารSMLทำโรงเชือดไก่  การเลี้ยงไก่ตามแนวธรรมชาติที่มีการป้องกันโรคที่ดี  เพราะจะมีการสุ่มตรวจจากผู้บริโภค หรือบางครั้งอาจจะเข้ามาเยี่ยมชมด้วย  แจ้งการอบรมประเมินมาตรฐานการเลี้ยงของกลุ่ม  และสุดท้ายมอบตู้ฟักไข่ ขนาด ๓๖๐ ฟอง ให้กลุ่มและจับสลากสมาชิกที่จะยืมใช้ เสร็จการประชุมรับประทานต้มไก่ประดู่หางดำ
เยี่ยมดูแลแนะนำการใช้ตู้ฟักของกลุ่มที่บ้านนายหมั้น ถาคำ




การมอบตู้ฟักไข่ขนาด๘๐ฟอง ให้นางวิภารัตน์ แก้วสาธร เกษตรกรคนเก่งบ้านร่องหวาย

 

 ให้ทุกคนได้แสดงออกถึงความคิดและปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไข

  แลกเปลี่ยนเรียนรู้
 
 ออกเสียงลงมติในการที่จะร่วมกันดำเนินการสร้างโรงฆ่าสัตว์ปีกชุมชนขอองกลุ่มฯให้สำเร็จ

 มอบวัคซีนป้องกันโรคให้กลุ่มไก่ไปใช้หยอดป้องกันโรคนิวคาสเชิล และหลอดลมอักเสบติดต่อ
 หลุมฝังซากไก่ของนายติ๊บ บั้งเงิน ตามแนวทางการสร้างฟาร์มเลี้ยงไก่แบบปล่อยที่ปลอดภัยปลอดโรค