สนใจจะชื้อไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่๑ไปเลี้ยงขยายพันธุ์ติดต่อกลุ่มเลี้ยงไก่บ้านห้วยห้างโทร๐๘๙-๐๗๘๓๕๐๓,๐๘๙-๘๓๕๖๒๖๒,๐๘๖-๑๑๓๐๗๕๕

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เยี่ยมเกษตรกรเลี้ยงไก่ประดู่หางดำที่ได้รับมอบวัสดุไปปรับปรุงฟาร์ม

 เมื่อวันที่ ๒๓-๒๔  มิถุนายน ๒๕๕๙ นายสุพล ปานพาน ปศุสัตวือำเภอเวียงเชียงรุ้ง ออกปฏิบัติงานเยี่ยมเกษตรกรที่เลี้ยงไก่ที่มีการปรับวิธีการเลี้ยงให้ปลอดภัยจากโรคระบาด ดุการนำอุปกรณ์ มาเสริมทำรั้วตาข่าย ป้องกัน นกหนู สุนัข และสัตว์อื่นที่เป็นพาหะของโรค
นายสง่า มณีจันทร์สุข


นายติ๊บ บั้งเงิน


นายตุ้ย ธรรมจักร



นายทูน ธรรมจักรื


วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559

มอบวัสดุปรับปรุงฟาร์มให้เกษตรกร

ตาข่ายเหล็กกันสุนัขเข้ามากัดไก่
 เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ ทีมงานสำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง นำโดยนายจันทร์ รักลีน นำวัสดุอุปกรณ์ส่งมอบให้เกษตรกรกลุ่มบ้านสันไทรงาม ตำบลดงมหาวัน บ้านห้วยห้าง ตำบลป่าซาง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และทีมสำนักงานปศุสัตว์อำเภอดอยหลวง นำโดยนายไชยนิรันตร์ สุนันต๊ะ ปศุสัตว์อำเภอดอยหลวง มอบให้กลุ่มบ้านปงน้อย ตำบลปงน้อย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย












วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559

อบรมสาธิตการทำอาหารหมักสำหรับไก่พื้นเมือง

นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง นางพรพิมล ใจไหว นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย นายไชยนิรันคร์ สนันต๊ะ ปศุสัตว์อำเภอดอยหลวง และทีมงาน ดำเนินการ การฝึกอบรมหลักสูตร"การผลิตและการใช้อาหารหมักสำหรับเลี้ยงไก่พื้นเมือง"ให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการวิจัยเรื่องผลการพัฒนาการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำสู่การเลี้ยงระบบอินทรีย์ในเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์บ้านสันไทรงาม ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย มีการบรรยาย สาธิต และมอบวัสดุปรับปรุงฟาร์มด้วยจำนวนหนึ่ง

















วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ส่งมอบไก่ชุดสุดท้ายให้เกษตรกรผู้ร่วมงานวิจัย

 เมื่อเช้าวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙ นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง พร้อมด้วยนางยุพา คำสมุทร ผู้ช่วยวิจัย นายหริพันธ์ มณีจันท์สุข ปศุสัตว์ตำบล ดำเนินการส่งมอบไก่ประดู่หางดำให้เกษตรกรที่อาสาร่วมวิจัยเรื่องผลการพัฒนาการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำแบบอินทรีย์ในเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน ๖ ราย ครบตามจำนวนเป้าหมาย ขั้นตอนต่อไปจะได้อบรมความรู้การทำอาหารแบบอินทรีย์ และแนะนำการจัดการฟาร์มเข้าสู่ระบบ แล้วเก็บข้อมูลทั้งสามด้านอันได้แก่ ผลตอบแทนรายได้ การตลาดที่เหมาะสม และประสิทธิภาพการเลี้ยง ด้วยหวังว่าจะเป็นข้อมูลตัดสินใจสำหรับเกษตรกรรายย่อยที่สนใจการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำต่อไป ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)และกรมปศุสัตว์